แชร์

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) | BSHC

อัพเดทล่าสุด: 9 เม.ย. 2024
297 ผู้เข้าชม

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision) คือการผ่าตัดเอาผิวหนังหุ้มปลายของอวัยวะเพศออกบางส่วน เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาดและการดูแล
 
ข้อดีของการผ่าตัด
1.        สามารถดูแลทำความสะอาดง่าย
2.        ลดโอกาสเกิดมะเร็งองคชาต
3.        ลดความเสี่ยงและป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4.        ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในเด็กเล็ก
5.        ป้องกันการเกิดหนังหุ้มปลายตีบตัน
 
ข้อบ่งชี้ในการขลิบหนังหุ้มปลาย
โดยปกติการขลิบหนังหุ้มปลาย สามารถทำได้ทุกคน แต่มีข้อบ่งชี้ที่แนะนำให้ทำทางการแพทย์ อาทิเช่น
1.        ข้อบ่งชี้ทางศาสนา เช่นศาสนาอิสลาม
2.        หนังหุ้มปลายไม่เปิด หรือไม่สามารถเปิดได้เต็มที่ในเด็กเล็ก
3.        ปัสสาวะลำบากจากการที่หนังหุ้มปลายตีบและยาว
4.        มีอาการอักเสบจากเรื้อรังของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
5.        หนังหุ้มปลายหดรัดองคชาต
 
วิธีการขลิบหนังหุ้มปลาย ปัจจุบันมีการผ่าตัดที่นิยมอยู่ 2 วิธี
1.        Conventional Circumcision การผ่าตัดขลิปแบบธรรมดา
ข้อดี
·      สามารถทำได้ทุกรูปแบบ
·      ราคาถูกกว่า
ข้อเสีย
·      ใช้เวลาผ่าตัดนานกว่า
·      เลือดออกมากกว่า
2.        Circumcision Device (Stapple Circumcision) การผ่าตัดขลิบด้วยเครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ
ข้อดี
·      ใช้เวลาการผ่าตัดสั้นกว่า
·      เลือดออกน้อยกว่า
·      แผลสวยกว่า
·      เจ็บตัวน้อยกว่า (เนื่องจากระยะเวลาการผ่าตัดสั้นกว่า)
ข้อเสีย
·      ไม่สามารถใช้การผ่าตัดชนิดนี้ได้ทุกเคส อาทิเช่น คนไข้ที่มีหนังหุ้มปลายอักเสบ หรือมีภาวะ Balanitis Xerotica Obliterans (BXO) หนังหุ้มปลายมีการตีบหนาตัวมาก เป็นต้น
·      ถึงแม้ว่าจะใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ บางตำแหน่งอาจจำเป็นต้องมีการเย็บเสริมเพิ่มเติม
·      ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการใช้อุปกรณ์เสริม
 
การเตรียมตัวก่อนและหลังผ่าตัด
ก่อนผ่าตัด
·      หากมีโรคประจำตัว หรือมียาโรคประจำตัว อาทิเช่นยาละลายลิ่มเลือด ต้องแจ้งแพทย์ทราบ
·      การผ่าตัดเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้วิธีการฉีดยาชาจึงไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร ยกเว้น การขลิบหนังหุ้มปลายเด็กเล็ก พิจารณาใช้วิธีการดมยาสลบ
·      ระยะเวลาการผ่าตัดไม่เกิน 30 นาที ขึ้นอยู่กับเทคนิคและความยากง่าย
หลังผ่าตัด
·      หลังผ่าตัดเสร็จสามารถกลับบ้านได้ ไม่ต้องพักพื้นที่โรงพยาบาล
·      รับประทานยาแก้อักเสบและยาฆ่าเชื้อหลังผ่าตัด
·      หากมีเลือดออก แนะนำให้ใช้สำลีกดแผลห้ามเลือด ประมาณ 3-5 นาทีถ้าไม่แนะนำให้กลับมาพบแพทย์
·      ทำแผลทุกวันที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน อย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลหายดี
·      ไหมที่เย็บเป็นไหมละลาย ส่วนใหญ่จะเริ่มหลุดได้เองประมาณ 1-2 สัปดาห์ไม่จำเป็นต้องตัดไหม
·      กรณีใช้ Stapple device ตัว Stapple จะเริ่มหลุดได้เองใน 1 สัปดาห์แรกและส่วนใหญ่หลุดครบเมื่อ 4-5 สัปดาห์
·      งดยกของหนัก และมีเพศสัมพันธ์ 1 เดือน


บทความที่เกี่ยวข้อง
ติ่งเนื้อบริเวณจุดซ่อนเร้น HPV ในผู้ชาย
ภัยเงียบในผู้ชายที่ไม่ควรมองข้าม จากไวรัส HPV
4 มิ.ย. 2024
4 วิธีชะลอการพร่องฮอร์โมนเพศชาย | BSHC
อาหาร เลี่ยงอาหารรสหวาน เพิ่มอาหารที่ช่วยสร้างฮอร์โมนเพศชาย เช่น ผักใบเขียว ถั่ว ไข่แดง แตงโม หอยนางรม (ระวังไขมัน)ออกกำลังกาย เน้นชนิดกีฬาที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น จักรยาน เทนนิสจิตใจ ลดเครียด คิดบวก และนอนให้พอ การนอนสำคัญมากโดยเฉพาะช่วงสี่ทุ่มถึงตีสองจะมีการหลั่ง growth hormone ฉะนั้นไม่ควรเข้านอนเกินห้าทุ่ม
31 พ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy